การอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยนกเงือกนานาชาติ

การอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยนกเงือกนานาชาติ

มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นเจ้าภาพจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยนกเงือกนานาชาติ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกและ บริษัท เฌอรา จํากัด (มหาชน)ในระหว่างวันที่ 1-11 พฤษภาคม 2561 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดี ซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติจากเครือข่ายกลุ่มนักวิจัยนกชนหิน จำนวน 12 คน ซึ่งมาจากประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า และ หนึ่งคนเป็นนักวิจัยนกเงือกซูลู จากประเทศฟิลิปปินส์ สำหรับผู้เข้าร่วมคนไทยประกอบด้วย 15 คนเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติฯ และ 3 คน เป็นตำรวจตระเวนชายแดนผู้ที่ช่วยเหลือมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกทำงานวิจัย

เนื้อหาการฝึกอบรม

  • การประเมินและการตรวจสอบพื้นที่อาศัยของนกเงือก
  • การสำรวจและประเมินประชากรของนกเงือกด้วยวิธีการ sampling techniques, occupancy, line and point transects
  • เทคนิคการปีนต้นไม้
  • การหารังและการศึกษาต้นรังรวมถึงการจัดการกับโพรงรัง
  • นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์
  • อาหารของนกเงือกรวมทั้งการศึกษาชีพลักษณ์

บรรยายและฝึกอบรมโดย : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์, ผศ. ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม, รศ.ดร.อุทิศ กุฏอินทร์, ดร.สมหญิง ทัฬหิกรณ์, Assoc. Prof. Dr. George A. Gale, ดร.จิราภรณ์ เทียมพันธ์พงศ์, ดร.ชาคร ผาสุวรรณ, นายณรงค์ จิระวัฒน์กวี

 

วันที่ 1 เริ่มต้นการฝึกอบรม

กล่าวต้อนรับโดย ดร.วรพัฒน์ อรรถยุกติ(ประธานมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก) และ กล่าวเปิดงานโดย นายเกรียงศักดิ์ จตุรสุขสกุล ผู้อำนวยศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่)

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ บรรยายถึงภาพรวมและความสำคัญของนกเงือก

 

รศ.ดร. อุทิศ กุฏอินทร นำเสนอเกี่ยวกับระบบนิเวศของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

 

ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ มากล่าวเปิดและเยี่ยมชมนิทรรศการ ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

 

Assoc. Prof. Dr. George A. Gale นำเสนอเกี่ยวกับการสำรวจและการประเมินประชากรนกเงือก

 

ในช่วงบ่าย แบ่งผู้ฝึกอบรมออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อเข้าไปศึกษาในถิ่นที่อาศัยของนกเงือกเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

 

ในช่วงค่ำ มีการบรรยายโดย ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม เรื่องเทคนิคการค้นหาโพรงรังของนกเงือก, ดร. จิราภรณ์ เทียมพันธ์พงศ์ และนายณรงค์ จิระวัฒน์กวี นำเสนอเทคนิคการเก็บข้อมูลอาหารและพฤติกรรมการป้อนอาหารของนกเงือกในภาคสนาม

 

วันที่2-4 พฤษภาคม,แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อฝึกภาคสนาม

 

การค้นหาโพรงรังนกเงือกและเรียนรู้เรื่องโพรงรัง

 

เรียนรู้เรื่องชีววิทยาการทำรัง,อาหารและการป้อนอาหาร

 

เรียนรู้เรื่องประเมินประชากรนกเงือก

วันที่ 5 พฤษภาคม มีกิจกรรมสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมสองกิจจกรรม

การค้นหาโพรงรังและการศึกษาต้นไม้ที่เป็นโพรงรังของนกเงือก

การศึกษาชีพลักษณ์

หลังจากอาหารเย็น อาจารย์ชาคร ผาสุวรรณ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายเรื่องการออกแบบโพรงเทียม ต่อจากนั้นอาจารย์วิจักขณ์ ฉิมโฉม บรรยายเกี่ยวกับ การดำเนินการติดตั้ง และสรุปเทคนิคสำหรับผู้จัดการและการจัดการโพรงรังของนกเงือก โดยการปรับปรุงและซ่อมแซมโพรงรังด้วยวิธีการปีนต้นไม้ ซึ่งโพรงรังของนกเงือกนั้นมักจะอยู่สูงประมาณ 20-30 เมตร ดังนั้นผู้รับการอบรมต้องได้รับการฝึกปฏิบัติเพื่อเรียนรู้

วันที่ 6 พฤษภาคม แบ่งกลุมผู้อบรมออกเป็น 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้ลองปีนต้นไม้ รวมถึงวิธีการใช้เชือกและอุปกรณ์การปีนโดยได้รับความช่วยเหลือและสอนจากทีมงาน ผู้เข้าร่วมบางท่านประสบปัญหากับความยากลำบากในการปีนเชือก

หลังจากอาหารเย็น มีผู้ฝึกอบรมส่วนหนึ่งร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกในการปีนต้นไม้

นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มอบประกาศนียบัตรแลหนังสือ “นกเงือกมรดกไทย-มรดกโลก” แก่ผู้ฝึกอบรม

ในวันที่ 7 พฤษภาคม ผู้เข้าฝึกอบรมได้ลองฝึกซ่อมแซมและปรับปรุงโพรงรังสำหรับนกเงือก

วันที่ 8 พฤษภาคม ผู้เข้าร่วม เดินทางไปยัง อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี

หลังจากอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมได้ไปเยี่ยมเยือนพบปะกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่ช่วยมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกเช็คโพรงรัง รวมถึงการเก็บข้อมูล การเคลื่อนที่ อาหาร และพฤติกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ร่วมงานกับชาวบ้านตามจำนวนรังที่พวกเขารับผิดชอบอยู่

วันต่อมาผู้เข้าร่วมแบ่งออกเป็นกลุ่มเพื่อไปดูและสังเกตรังนกชนหิน นกกก และนกเงือกดำ ซึ่งทุกกลุ่มมีโอกาสเข้าไปสังเกตนกชนหิน

อาจารย์พิลัยพบว่ามีลูกนกกกที่อยู่ในสวนผลไม้ถูกขโมยไป จึงเรียกตำรวจมาสอบ ณ ที่เกิดเหตุ

วันที่ 9 พฤษภาคมผู้เข้าร่วมเข้าเยือนชาวบ้าน 2 คน ณ หมู่บ้านกะปอ หัวหน้าส่วนราชการและเทศบาลได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมอบรมถึงสิ่งที่พวกเขากำลังดำเนนการอยู่และวิธีที่สามารถเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้าน หนึ่งในนั้นคือการจัดตั้งฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงนิเวศ โดยมีสวนผลไม้และฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นตัวอย่างสำหรับชาวบ้านในพื้นที่

วันสุดท้ายของการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้เข้าเยี่ยมชมสถานีวิจัยสัตว์ป่าฮาลา – บาลา เพื่อสังเกตรังของนกเงือกหัวแรด ซึ่งตัวเมียและลูกได้ออกจากรังไปแล้วและหลังจากรับประทานอาหารกลางวันเราได้ไปเยี่ยมชมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโคกไม้เรือในจังหวัดนราธิวาส มีนกเงือกที่ถูกยึดและสัตว์ป่าอื่น ๆ จำนวนมาก เจ้าหน้าที่ยังคงพยายามผสมพันธุ์นกเงือกกกและนกเงือกหัวแรด

ตอนกลางคืน ดร. จิราภรณ์ได้พูดคุยเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์นกเงือกและความท้าทายในการทำงงานร่วมกับชุมชนชาวกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี โดยผลงานของเธอได้รับแบบอย่างตามการทำงานของ ดร. พิไล ในอุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดี

คณะกรรมการจัดงานขอขอบพระคุณกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่อำนวยความสะดวกใน อุทยานแห่งชาติเเขาใหญ่และ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ในระหว่างการฝึกอบรม ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน สมาชิกทีมวิจัยนกเงือก และชาวบ้านรอบอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ที่สนับสนุนการฝึกอบรมครั้งนนี้ เราหวังว่าผู้เข้าร่วมทุกท่านจะดำเนินการวิจัยและการอนุรักษ์นกเงือกต่อไป ภายในประเทศของคุณ โปรแกรมการฝึกอบรมนี้ได้รับการสนับสนุนโดย DNP, HRF และ SHERA

Related Post

  • Previous Post
    เจ้าหัวบาก นกเงือกหัวแรดรังเบอร์ 29
  • Next Post
    นำเสนองานวิจัยในเซอมารัง...อินโดนีเซีย

Leave your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *