ไชโย-โอฮา!

ไชโย-โอฮา!

เข้าสู่ปีที่3​แล้วสำหรับ​สัญญา​ร่วมไทย-มาเลเซีย​กับงานวิจัย​และ​อนุรักษ์​นก​เงือก​ที่​เขตรักษา​พันธุ์​สัตว์ป่า​ลัน​จัก, รัฐซาราวักบน​เกาะบอร์เนียว​ งานของเรา​เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง​ขึ้น สำหรับปีแรกๆงานส่วนใหญ่คือการเ​ทรนทีมงานป่าไม้ของมาเล​เซียซึ่งทีมงานของเขากับผู้ร่วมงาน​ชาวพื้นเมืองจาก​เผ่า​อี​บัน​ก็ให้ความสนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้เป็นอย่างดี​ ด้วยการทำงานที่ยากลำบากแต่ทุกคนก็อดทนและตั้งใจ​ แม้ว่าการอนุรักษ์​จะสำเร็จ​ลุล่วง​ตามแผนการ​ที่วางไว้หรือไม่​ก็ตามสิ่งที่ผมทราบคือพวกเขารักนกเงือกและอยากอนุรักษ์​ไว้​ ไม่มีผู้ร่วมงานคนใดยินดีหรือพอใจกับการสัมปทาน​ไม้นักแต่พวกเขาต้องจำยอมเพราะเป็นรายได้หลักของรัฐบาล​และชาวบ้าน​มีงานทำ​ ผมถามพวกเขาว่าทำไมถึงไม่ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า​ ​เขาบอกว่าเป็นเรื่องยากเพราะบรรดา​หัวหน้าเผ่าหรือผู้นำของเขารับเงินมาแล้ว​ พวกเขาได้แต่นิ่งและพูดไม่ได้รัฐบาลให้พวกเขาล่าสัตว์​ได้อย่างถูกกฏหมายแต่ในความจริงแม้ไม่อนุญาต​พวกเขาก็ทำกันอยู่แล้ว​”ป่าและสัตว์ป่า​เป็นของเรามานานเพราะบ้านของเราอยู่ที่นี่กินกันจนตายก็ไม่มีวันหมดสิ้น” ​ ในแม่น้ำมีปลาในป่ามีหมูผักสมุนไพรเหลือเฟือรวมถึงการสกัดน้ำหวานจากเกสรของดอกปาล์ม​เพื่อนำมาทำไวน์​พื้นบ้านไว้สังสรรค์​ในยามพักผ่อน

บางครั้งในวันหยุดพวกเราก็ไปร่วมสังสรรค์​ด้วย​ พวกเขาอยู่กับธรรมชาติเราจึงเห็นถึงความมีน้ำใจ​ไปที่บ้านใครเขาต้อนรับเราอย่างดี​ ซึ่งผมสัมผัส​ได้ถึงความเป็นมิตรและรู้สึกประทับใจ​จึงต้องบันทึก​ไว้​ในความ​ทรง​จำว่าแล้วก็ยกแก้ว​ไวน์ชูขึ้นและพูดพร้อมกัน..”โอฮา! “มีความหมายว่า”ไชโย!”
วันนี้เราอาจร่าเริงและดื่มกินอย่างมีความสุขแต่อนาคตข้างหน้าผมยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะ​ไร​ขึ้นกับป่าผื

นนี้หากยังไม่มีแผนการอนุรักษ์​ทรัพยา​กร​ที่มีอยู่อย่างระมัดระวัง​ ป่าฝนที่อุดมสมบูรณ์​และสวยงามอาจเหลือเพียงเรื่องเล่าจากเฟสบุ๊ค!

Related Post

  • Previous Post
    ​ “ปากย่น” นกเงือกแฟนตาซี และความหวัง
  • Next Post
    ฆาตกรในฤดูทำรัง