โครงการศึกษาวิจัยด้านนิเวศวิทยาของนกเงือก

ในโลกมี “นกเงือก” หรือ “Hornbills” อยู่หลากหลายพันธุ์ถึง 52 ชนิด บวกกับ Ground Hornbills อีก 2 ชนิดเป็น 54 ชนิด จำง่ายๆ ก็คือ มีจำนวนเท่ากับไพ่ 1 สำรับ(52ใบ) รวมโจ๊กเกอร์อีก 2 ใบ เท่านี้ก็ไม่ยากแล้ว “นกเงือก” ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าและป่าดิบเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย เขตร้อนของทวีปเอเชียมีนกเงือกหลากหลายถึง 31 ชนิด ในประเทศไทยเรามีนกเงือกให้จดจำกันถึง 13 ชนิด อย่าได้สับสนกับ “นกทูแคน” (Toucan) ของอเมริกาใต้

อัพเดทรายงานประชุมวิชาการนกเงือกนานาชาติ

ทางเราได้อัพเดทหน้าสื่อประชาสัมพันธ์ ด้วยเอกสารและรายงา

ฆาตกรในฤดูทำรัง

นกเงือกในธรรมชาติที่ตายนั้นส่วนใหญ่จะถูกล่าจากมนุษย์​ เราแทบไม่เคยพบนกเงือกป่วยหรือถูกงูกัดตายเพราะงูคืออาหารของมัน​ ส่วนศัตรูในธรรมชาติก็มีไม่มากนัก เช่นหมีขอ​ หมีหมา​ และหมาไม้​ แต่ก็ยากที่จะมาจับนกเงือกกิน​เว้นเสียจากลูกและแม่นกที่อยู่ในโพรงหรือเวลาที่ลูกนกยังปิดปากโพรงไม่เสร็จ

ไชโย-โอฮา!

เขาบอกว่าเป็นเรื่องยากเพราะบรรดา​หัวหน้าเผ่าหรือผู้นำของเขารับเงินมาแล้ว​ พวกเขาได้แต่นิ่งและพูดไม่ได้รัฐบาลให้พวกเขาล่าสัตว์​ได้อย่างถูกกฏหมายแต่ในความจริงแม้ไม่อนุญาต​พวกเขาก็ทำกันอยู่แล้ว​”ป่าและสัตว์ป่า​เป็นของเรามานานเพราะบ้านของเราอยู่ที่นี่กินกันจนตายก็ไม่มีวันหมดสิ้น” ​ ในแม่น้ำมีปลาในป่ามีหมูผักสมุนไพรเหลือเฟือรวมถึงการสกัดน้ำหวานจากเกสรของดอกปาล์ม​เพื่อนำมาทำไวน์​พื้นบ้านไว้สังสรรค์​ในยามพักผ่อน

​ “ปากย่น” นกเงือกแฟนตาซี และความหวัง

ถ้าบอกว่านกเงือกขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงามสำหรับผมต้องยกให้นกเงือกปากย่น(Wrinkled​ Hornbill)​ เพราะมันมีหน้าตาสดใสสะดุด​ตา​หากใครได้เห็นรับรองว่าต้องตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะหนังเปลือยรอบดวงตาสีฟ้าสดใสคล้ายนกทูแคน​ โหนกสีแดงสด​ แถมไว้ผมทรงจิ๊กโล่ดูโก้เก๋และสวยงาม จนได้รับสมญานาม​ว่า”นกเงือกแฟนตาซี” ชวนให้ค้นหาแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้พบเจอตัวเป็นๆของมันในธรรมชาติ

นกเงือกที่สวยที่สุดในโลก

นกเงือกคอแดง(Rufous-neck Hornbill)​มีการสำรวจพบครั้งแรกในเนปาลจึงถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์​ว่า​ Aceros​ nipalensis
นกเงือกคอแดงมีการแพร่กระจายตั้งแต่ภาคตะวันตกของประเทศไทย​ ทางเหนือของพม่า​ แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศอินเดีย​ เนปาล​และภูฏาน​

นำเสนองานวิจัยในเซอมารัง…อินโดนีเซีย

สองวันต่อจากนี้จะเป็นวันที่จัดงาน ซึ่งในงานนั้นมีการจัดบูทของหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอโปสเตอร์ และการบรรยาย จากองค์กรต่างๆที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์นกในประเทศอินโดนีเซีย งานนี้มีผู้คนสนใจค่อนข้างมากบรรยากาศภายในงานค่อนข้างเป็นกันเอง โปสเตอร์ของเราก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเนื้อหาโปสเตอร์แล้วเรายังนำรูปภาพการทำงานในภาคสนาม และสัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ทำงาน มาให้ชมอีกด้วย

การอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยนกเงือกนานาชาติ

มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นเจ้าภาพจักการอบรมเชิงปฏิบัติการวิจัยนกเงือกนานาชาติ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท SHERA ในระหว่างวันที่ 1-11 พฤษภาคม 2561 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดี

เจ้าหัวบาก นกเงือกหัวแรดรังเบอร์ 29

สำหรับนกเงือกหัวแรดรังเบอร์ 29 หรือที่พวกเราเรียกว่า เจ้าหัวบาก ตามลักษณะของโหนก ทำรังอยู่บนต้นกาลอ

นกเงือกกับโพรงเทียม

ปัจจุบันการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือกนั้นประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่เหลืออยู่ไม่มากนัก

วันรักนกเงือก 2561

“วันรักนกเงือก”เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ชักชวนผู้คนร่วมมอบความรักให้แก่นกเงือกร่วมกัน ก่อนที่จะมอบความรักให้แก่กันในวันวาเลนไทน์”