นกเงือกกับโพรงเทียม

นกเงือกกับโพรงเทียม

ปรีดา เทียนส่งรัศมี Preeda Thiensongrusamee

ปัจจุบันการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือกนั้นประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่เหลืออยู่ไม่มากนักสำหรับโพรงเทียมของนกเงือกที่โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือกติดตั้งในธรรมชาตินั้น มีนกเงือกมาใช้ 2 ชนิด คือ นกกาฮังหรือนกกก และนกแก๊ก ส่วนนกเงือกหัวแรด นกชนหิน และนกเงือกปากดำนั้น เข้ามาสำรวจและสนใจแต่ยังไม่เคยเข้าใช้

โพรงเทียมไฟเบอร์ผลงานของอาจารย์ชาคร ผาสุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

 

นกกาฮังหรือนกกกใช้โพรงเทียม

 

การสร้างโพรงเทียมนั้นมีความจำเป็นสำหรับนกเงือก เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเกิดโพรงนั้นมักมีอายุมากทำให้โค่นล้มได้ง่ายจากพายุ บางต้นก็ถูกลักลอบตัดเพื่อแปรรูป อีกทั้งการเกิดโพรงนั้นต้องใช้เวลานาน และมีกระบวนการที่ซับซ้อน และคาดเดาได้ยากว่าจะเหมาะสมต่อการใช้ทำรังของนกเงือกหรือไม่ การสร้างโพรงรังเทียมจึงมีประโยชน์อย่างมากต่อการอนุรักษ์นกเงือก และควรสร้างขึ้นจากวัสดุที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ เช่นไม้หรือไฟเบอร์ที่มีน้ำหนักเบา เพื่อสะดวกในการขนย้ายและติดตั้ง

 

ลักษณะโพรงเทียมของซิกเซนต์ เกาะยาวสร้างจากไม้เก่า.ขนาด 50x50x100 เซนติเมตร

 

โพรงเทียมไฟเบอร์ ของโครงการอนุรักษ์นกเงือกของประเทศอินเดีย

 

โพรงรังเทียมทำจากไม้ตำเสาสำหรับนกชนหิน ออกแบบและสร้างขึ้นโดย มะซูดิง ซีบะ

 

 

Related Post

  • Previous Post
    วันรักนกเงือก 2561
  • Next Post
    เจ้าหัวบาก นกเงือกหัวแรดรังเบอร์ 29